ผู้ประดิษฐ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดปัญหาของคนรักสัตว์เลี้ยง คำขอสิทธิบัตรเลขที่ 039518

หน้าหลัก รายละเอียดสินค้า วิธีการสั่งซื้อ ถาม-ตอบ คำถามที่พบบ่อย วิธีใช้งาน ประยุกต์ใช้งาน ความเป็นมา แผนที่ ติดต่อ

โรคที่มักเกิดขึ้นกับปลา (จาก thaianimal.com)
1. โรคจุดขาว (lch.white spot disease)
อาการ ปลาจะมีจุดขาว ๆ ขนาดเล็กประมาณ0.5-1.00มม. ปรากฎขึ้นตามลำตัวครีบและเหงือก
แล้วเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเห็นชัดเจน ลักษณะการว่ายจะแกว่งลำตัวไปมาและพยายามจะถูลำตัวกับพื้นก้อน
หินหรือต้นไม้น้ำ เพื่อให้จุดขาวเหล่านี้หลุดออกไปเมื่อมีอาการดังกล่าวมาแล้วจะไม่ค่อยยอมกินอาหารปลาบาง
ชนิดจะลอยคอขึ้นมาอยู่บนผิวน้ำหรือบางชนิดจะซุกตัวอยู่ตามมุมนิ่ง ๆ สำหรับปลาที่มีสีอ่อนจะสังเกตุยาก
สาเหตุ เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำชนิดหนึ่งชื่อ lchthyophthirius sp. มีขนาดเล็กเกาะอยู่เชื้อ
นี้จะขยายพันธุ์อยู่บนผิวของปลาที่สุขภาพอ่อนแอ (อาการอ่อนแอนี้อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
ของน้ำมาก ๆ )
วิธีป้องกันและรักษา
-พยายามรักษาระดับอุณหภูมิของน้ำให้สม่ำเสมอ อย่าให้อุณหภูมิน้ำเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน
-ควรแยกปลาออกมากักโรคได้ก็จะเป็นการดี
-โรคนี้สามารถรักษาด้วยการใช้ตัวยาเคมีบางชนิดกำจัดเชื้อได้
2. โรคเชื้อรา (Fugas Disease)
อาการ มีลักษณะคล้ายก้อนสำลีบาง ๆ เกาะติดอยู่ตามผิวหรือปากปลา หากเป็นมาก ๆ อาจตาย
ได้ภายใน 5-7 วัน
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Saprolegniasis และ Achlyasis เกาะอยู่ตามบริเวณบาดแผลของผิว
หรือปากปลา อาการบาดแผลเหล่านี้จะเกิดจากการถูกขีดข่วนแล้วไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที เชื้อรานี้จะค่อย ๆ
กินลึกลงไปในเนื้อปลาหากไม่รีบรักษาอาจทำให้ปลาตาย
วิธีป้องกันและรักษา
-แยกปลาที่เป็นโรคออกมาไว้ต่างหาก
-แช่ปลาลงในน้ำประมาณ 10ลิตรต่อเกลือ 2ขีด แล้วเช็ดเชื้อราด้วยสำลีออกให้หมดและทาด้วยยา
Malachite green หรือ Furazone green บริเวณที่เป็นแผล
-ขณะจับปลาหรือลำเลียงปลาควรกระทำด้วยความระมัดระวัง หากเป็นแผลหรือบอบช้ำควรรีบ
รักษา เพราะจะทำให้เกิดเชื้อโรคได้ง่าย
3. โรคเสียการทรงตัว (Air bladder disease)
อาการ ลักษณะการว่ายของปลาจะอุ้ยอ้ายลำตัวบิดไปมา แทนที่จะสบัดหางอย่างเดียวปลามักจะจม
อยู่ก้นตู้ ครีบทุกครีบจะกางออก เวลาว่ายจะไม่สามารถหยุดตัวเองได้ จึงทำให้เกิดการชนตู้อยู่บ่อย ๆ ถ้ามีอาการ
มากบางครั้งจะหงายท้องลอยอยู่บนผิวน้ำ แต่ก็จะพยายามกลับตัวให้ลอยตามปกติ หากกลับไม่ได้บ่อยครั้งก็จะ
ตายไปในที่สุด
สาเหตุ เกิดจากการกินอาหารมากจนเกินไป กระเพาะอาหารย่อยอาหารไม่ทัน อาหารเหล่านี้ก็จะไปกด
กระเพาะลมที่ใช้ในการทรงตัวให้พองขึ้นไม่เท่ากัน ทำให้เสียการทรงตัว
วิธีป้องกันและรักษา
-โดยใช้ดีเกลือฝรั่ง 1 cc.ต่อน้ำ 1ลิตรแต่ไม่รับรองผลการรักษา เพราะโรคนี้เป็นแล้วหายยากมาก
แม้หายแล้วลักษณะการว่ายก็ไม่เหมือนปกติ
-ยารักษาโรคนี้ยังไม่มี ควรสนใจดูแลเรื่องการให้อาหารให้พอเหมาะกับความต้องการของปลา
4. โรคเกล็ดพอง (Scale protrusion)
อาการ เกล็ดตามตัวของปลาจะตั้งอ้าออก ลำตัวจะบวมพอง ตามฐานของซอกเกล็ดจะมีลักษณะ
ตกเลือด ส่วนมากจะไม่ยอมกินอาหารและจะลอยตัวขึ้นมาบนผิวน้ำแล้วก็ตายไปในที่สุด
สาเหตุ เชื้อที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าวคือ เชื้อแบคทีเรีย และโปรโตรซัวบางชนิด เช่น Aeromonas
hydrophila และ Glossatella sp.
วิธีป้องกันและรักษา
-สามารถรักษาได้ในอาการเริ่มแรกเท่านั้น ด้วยยาปฏิชีวนะและสารเคมีบางชนิด
-ควบคุมอาหารประเถทโปรตีนให้ลดน้อยลง
-ควรดูแลสภาพน้ำและสภาพแวดล้อมภายในตู้ให้สะอาด เปลี่ยนถ่ายน้ำตามกำหนดเวลาเสมอ
5. โรคเห็บ (Argulus disease)
อาการ ลักษณะมีเม็ดกลมแบนใส ๆ เกาะอยู่ตามลำตัวปลา
ลักษณะ การว่ายน้ำจะผิดปกติ ชอบถูลำตัวกับพื้น ก้อนหินหรือไม้น้ำ การกินอาหารน้อยลง
แล้วถ้าอาการมากขึ้นจะไม่ยอมว่ายไปมา
สาเหตุ เกิดจากเชื้อ Argulus sp. ทำให้ลำตัวจะมีรอยแดง เมื่อตรวจดูจะเห็นเห็บเกาะแน่น
ลีกษณะคล้ายจานแบน ๆ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-10มม. มีสีเขียวอ่อนหรือสีเหลืองอ่อนแกมเขียวและ
น้ำตาล มีอวัยวะคล้ายเหล็กใน (Sting) แทงเข้าไปในใต้ผิวหนังของปลาเพื่อดูดเลือดหรือของเหลวในเนื้อ
เยื่อใต้ผิวหนังปลาเป็นอาหาร บริเวณปากจะมีต่อมพิษเพื่อปล่อยสารพิษมาทำอันตรายต่อปลา
วิธีป้องกันและรักษา
-ควรแยกปลาที่เป็นโรคนี้ออกต่างหาก
-รักษาโรคโดยวิธีใช้สารเคมี
-ควรกักโรคปลาใหม่ก่อนที่จะใส่ปลาลงในตู้หรือบ่อปลา
-ควรระมัดระวังเรื่องน้ำและอาหารเพราะโรคเห็บสามารถแอบแฝงมากับน้ำหรือ อาหาร เช่น ลูกน้ำ
6. โรคหนอนสมอ (Lerneosis)
อาการ ปลาจะมีอาการซึมลง ผอมแห้งกระพุ้งแก้มเปิดอ้า บริเวณผิวหนัง ปากและครีบจะมีรอย
สีแดงเป็นจ้ำ ๆ
สาเหตุ เกิดจากเชื้อ Lernaea sp. รูปร่างเพรียวยาวขนาด 6-12มม. กว้าง 0.5-1.2มม. โรคนี้
จะเกิดกับปลาน้ำจืดทั่ว ๆ ไป แทบทุกชนิด หนอนสมอจะใช้ส่วนหัว และอกฝังในเนื้อเยื่อตามผิวหนังปลา และ
จะยื่นส่วนท้ายของลำตัวที่เป็นทรงกระบอกออกมานอกผิวปลา
วิธีป้องกันและรักษา
-ควรแยกปลาที่เป็นโรคนี้ออกต่างหากเพราะเป็นโรคติดต่อกันได้แต่ไม่ร้ายแรงนัก
-รักษาโดยการใส่สารเคมีบางชนิด
-ควรกักโรคปลาที่จะนำมาใส่ใหม่ก่อนที่นำลงสู่ตู้หรือบ่อปลา
-หนอนสมออาจแอบแฝงมากับน้ำหรืออาหารที่จะให้ปลา เช่น ลูกน้ำ
7. โรคพลิสโตฟอโรซิส (Plistophorosis)
อาการ ลักษณะของลำตัวปลาและเหงือกจะซีดขาว ว่ายน้ำตะแครงข้าง การทรงตัวผิดปกติ ผอม
แห้ง ชอบแยกตัวออกจากกลุ่ม และจะตายไปในที่สุด
สาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัวชนิดหนึ่งคือ Plistophora sp. ซึ่งค้นพบครั้งแรกในปลานีออน
(Neon tetra) บางครั้งมีผู้เรียกชื่อโรคนี้ว่า"โรคนีออนเตตร้า"
วิธีป้องกันและรักษา
-ยาที่ใช้รักษายังไม่มี
-ตักปลาที่เป็นโรคนี้ออกทันที เพราะสามารถติดต่อกันได้
8. โรคพยาธิภายใน (Internal parasites)
อาการ หากปลาเป็นโรคพยาธิภายในแล้ว จะเกิดอาการผอมแห้ง ไม่ยอมกินอาหารตามปกติ และ
เป็นโอกาสให้เชื้อโรคชนิดอื่นเข้ามาแทรกซ้อนได้
สาเหตุ เกิดจากได้รับเชื้อโรคกลุ่มหนึ่งคือ พยาธิใบไม้ (Digenetic trematode) พยาธิหัวหนาม
(Acanthocephalus) พยาธิตัวกลม (Nematode) และพยาธิตัวแบน (Cestode) ซึ่งส่วนมากจะพบในปลา
ที่ชอบกินปลาอื่นเป็นอาหาร
วิธีป้องกันและรักษา
-รักษาโดยการใช้ยาถ่ายพยาธิในกรณีที่เชื้อพยาธิอยู่ในท่อทางเดินอาหารเท่านั้น หากเชื้อพยาธิอยู่
ในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อการรักษาจะไม่ค่อยได้ผล
9. รอยขีดข่วนและบาดแผล (Cuts and Abraision)
อาการ จะมีรอยขีดข่วน ครีบฉีกหรือแหว่ง บางครั้งก็อาจหลุดหายไป
สาเหตุ เกิดจากการขีดข่วนของตะแกรงที่ใช้ช้อนปลาหรือเกิดจากปลาว่ายไปชนกับวัตถุแหลมคม
ภายในตู้ปลา และอาจเกิดจากการกัดกันเองของปลาได้
วิธีป้องกันและรักษา
-หากพบปลาที่มีอาการดังกล่าว ควรรีบแยกนำมารักษาทันที เพราะจะทำให้เป็นโอกาสที่เชื้อโรคอื่นจะ
แทรกซ้อน
-ควรใช้ยาแดง (Mercurochrome) หรือครีมยาปฎิชีวนะทาบริเวณแผลจนกว่าจะหายเป็นปกติ
10. โรคครีบและหางเน่า (Fin and Tail Rot)
อาการ ที่ครีบและปลายหางจะมีสีคล้าย ๆ สีขาวขุ่น แล้วจะค่อย ๆ ลามไปยังบริเวณอื่น ๆ หากมี
อาการมากเนื้อบริเวณหางจะหลุดหายไป
สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดซึ่งมีสาเหตุมาจากการหมักหมมของน้ำ อาหารหรือขี้ปลา
กันเป็นเวลานาน ๆ
วิธีป้องกันและรักษา
-รักษาด้วยสารเคมีบางชนิด
-พยายามถ่ายน้ำและทำความสะอาดตู้ปลาตามกำหนดเวลาเสมอ
11. โรคหวัด (Cold)
อาการ ผิวของปลาจะมีวุ้นสีขุ่นบาง ๆ ไปทั้งตัว และบนผิวจะมีเส้นเลือดขึ้น (Blood shot)
สาเหตุ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำโดยฉับพลัน เช่นการนำปลาใหม่มาใส่ในตู้ หรือการ
ถ่ายน้ำภายในตู้ปลา ซึ่งน้ำที่นำมาถ่ายใส่อาจมีอุณหภูมิแตกต่างกับน้ำในตู้ ปลาที่ไม่แข็งแรงจะเป็นโรคนี้ได้ง่าย
วิธีป้องกันและรักษา
-ใช้ยาปฎิชีวนะรักษาได้
-พยายามรักษาอุณหภูมิของน้ำให้ใกล้เคียงกัน
-ก่อนใส่ปลาใหม่ลงตู้ ควรปรับอุณหภูมิของน้ำให้ใกล้เคียงกัน
12. โรคว่ายหมุนเป็นวงกลมไม่หยุด (Whirling Disease)
อาการ ลักษณะการว่ายของปลาจะเหมือนกับการวนเวียนรอบ ๆเสา เป็นรูปวงกลมไม่หยุด
หากหยุดว่ายปลาจะไม่มีลักษณะผิดปกติอื่น ๆ เลย แต่จะไม่โต
สาเหตุ เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ชื่อ Lentospora Cerebalis มาเกาะอาศัยอยู่บนส่วนหัวกระโหลก
และเจาะเข้าถึงสมองส่วนที่บังคับการทรงตัวของปลา ทำให้ปลามีอาการว่ายหมุนเป็นวงกลมไม่หยุด
วิธีป้องกันและรักษา
-นำปลาที่เป็นโรคนี้ออกมาทำลายทันทีเพราะจะทำให้ติดต่อไปยังปลาตัวอื่น
-เชื้อจุลินทรีย์นี้มักอาศัยอยู่ในน้ำ และไส้เดือน ฉะนั้นจึงต้องทำความสะอาดให้ดี
-ยารักษาโรคชนิดนี้ยังไม่มี
13. โรคสันหลังหัก (Spinal Paralysis)
อาการ ลักษณะการว่ายของปลาจะอุ้ยอ้าย เมื่อสังเกตดูใกล้ ๆ จะพบว่าลำตัวจะคดหรือลำตัว
แข็งทื่อ พอจะว่ายได้บางครั้งลำตัวคดในแนวตั้งคือ หางกระดกขึ้นมา ปลาจะมีอายุอยู่ต่อไปอีกหลายปี
ไม่ตายในทันที
สาเหตุ -เกิดจากการให้สารเคมีบางชนิดมากเกินไป
-จากการโดนไฟฟ้าช็อต หรือฟ้าผ่าปลาจะดิ้นทุรนทุรายอย่างแรง ซึ่งจะทำให้หลังหัก
-จากการที่ปลากระโดดออกจากบ่อหรือวิ่งชนตู้ปลาอย่างแรง ทำให้หลังหัก
14. โรคแพ้ความเค็มของบ่อปูน
อาการ ผิวปลาจะเป็นผื่นแดง (Bloodshot) ปลาจะซึมลงไม่ยอมว่ายน้ำ และหากเป็นมากอาจ
ถึงตายได้
สาเหตุ เกิดจากการย้ายปลาลงบ่อปูนที่สร้างใหม่ หรือมีน้ำผสมปูนหลงเหลืออยู่ โดยเมือกของ
ผิวปลาโดนด่างในปูนกัด จนหมดภูมิต้านทานจากเชื้อโรคที่อยู่ในน้ำ จึงทำให้ผิวหนังอักเสบ
วิธีป้องกันและรักษา
-ย้ายปลาออกจากบ่อโดยเร็ว
-การรักษายังไม่มีการรับรองผล
-บ่อปูนที่สร้างเสร็จใหม่ ๆ ควรแช่น้ำทิ้งไว้ 2-3วัน แล้วถ่ายน้ำทิ้งเสีย หรืออาจใช้มะขามเปียก
15. โรคตกเลือดจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial hemorrhagic septicemia)
อาการ ปลาจะมีอาการตกเลือดทั้งภายนอกและภายในลำตัว บางครั้งจะพบว่ามีอาการบวมบริเวณ
ท้องและตา มีน้ำเหลืองในช่องท้องเป็นแผลเน่าบริเวณลำตัวเป็นแห่ง ๆ เหงือกจะเน่า ไตอักเสบ พบมากในปลา
เลี้ยงทั่วไป
สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียคือ Aeromonus hygrophila และ Pseudomonas spp.
วิธีป้องกันและรักษา
-รักษาได้ด้วยยาปฎิชีวนะบางชนิดในระยะอาการเริ่มแรกเท่านั้น
16. โรคลำไส้อักเสบ
อาการ มีมูกเลือดในขี้ปลา หรือปลาถ่ายเป็นน้ำขุ่น ๆ ปลาไม่ค่อยกินอาหาร บางครั้งขี้ปลาเป็นเม็ด
แข็งสีดำเข้ม
สาเหตุ เกิดจากการให้อาหารเก่าหรือเน่าเสีย หรือมีเชื้อรา
วิธีป้องกันและรักษา
-ให้แต่อาหารที่แน่ใจว่าเป็นอาหารดีและใหม่ อย่าให้อาหารแปลก ๆ แก่ปลา

ปริมาณสารเคมีที่ใช้ในการรักษาโรคปลา

สารเคมี

สรรพคุณ

วิธีการใช้และปริมาณ

หมายเหตุ

กรดน้ำส้ม(Acetic Acid)

ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและพาราสิตภายนอก

อัตราส่วน 1:20(5%) จุ่มนานประมาณ 1 นาที (กรดน้ำส้ม 1 ส่วนต่อน้ำ 20 ส่วน)

 

ยาเหลือง(Acriflarin)

ฆ่าเชื้อแบคทีเรียบนไข่ปลา (ยาเหลืองจะมีผลกระทบกระเทือนต่อเซลล์ของไข่ปลา)

อัตราส่วน 1:2000(500ppm.)

แช่นานประมาณ 20 นาที

ลักษณะเป็นผงละเอียดสีส้มแก่ เมื่อละลายน้ำแล้วจะมีสีแดงปนส้ม

ป้องกันเชื้อแบคทีเรียในระหว่างการลำเลียงขนส่ง ชั่งน้ำหนักหรือวัดขนาดปลา

1-3 ppm.

 

ป้องกันเชื้อแบคทีเรีย

10 ppm. แช่นานประมาณ

2-12 ชั่วโมง

 

คลอรีน(Chlorine)

ฆ่าเชื้อต่างๆทั้งหมด

10 ppm. นานประมาณ

30 นาที

 

ดิพเทอเร็กซ์(Dipteret)

ปลิงใส เห็บ หนอนสมอ

0.25-0.50 ppm. แช่ตลอดไปสัปดาห์ละ 1 ครั้ง นานประมาณ 4 สัปดาห์

 

ฟอร์มาลิน(Formalin)

โปรโตซัวและพาราสิตอื่นๆ

125-250 ppm. นานประมาณ 1 ชั่วโมงหรือ 15-40 ppm. แช่นานตลอดไป

ลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสีจนถึงสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นฉุ่นมากควรเก็บไว้ในขวดที่ป้องกันแสงได้ ฟอร์มาลินที่จะนำมาใช้ไม่ควรมีเมทิลแอลกอฮอร์ผสมอยู่เพราะเป็นพิษกับปลา

โรคเชื้อรา

1600-2000 ppm. นานประมาณ 15 นาที

มาลาไคท์กรีน(Malachite Green)

โปรโตซัว

0.1 ppm. แช่ตลอดไป

ลักษณะเป็นผลึกสีเขียวเหลืองละลายน้ำได้ดี ควรเลือกซื้อมาลาไคท์กรีนชนิดที่จัดอยู่ในประเภทยา (Medical Grade) เพราะไม่มีสารสังกะสี ซึ่งเป็นพิษต่อปลา

เชื้อรา

5ppm. นานประมาณ 15 นาที

เมทิลีน บลู

โรคจุดขาว (Ichth-yophthirius sp.) และโปรโตซัวชนิดอื่นๆ

2-5 ppm. แช่ตลอดไป

ลักษณะเป็นผลึกสีน้ำตาลปนแดง เมื่อละลายน้ำจะมีสีน้ำเงิน

ด่างทับทิม (Potassium Permanganate)

แบคทีเรียภายนอก เช่น Flexibacter Columnaris

2-4 ppm. แช่ตลอดไป เหมาะกับตู้ปลาหรือบ่อปลาที่มีน้ำสะอาดปราศจากความเป็นกรดเป็นด่าง

ลักษณะผลึกสีม่วงเข้ม ละลายน้ำแล้วจะมีสีม่วง ระหว่างการแช่ปลาจะต้องเพิ่มออกซิเจนเสมอ คือด่างทับทิมจะทำปฏิกริยากับสารออแกนนิกที่อยู่ในน้ำ ถ้าน้ำเป็นกรดเป็นด่างเพียงเล็กน้อยจะทำอันตรายต่อเหงือกปลา ดังนั้นจะต้องเพิ่มออกซิเจน

เกลือ(Sodium Choride)

แบคทีเรียบางชนิด เชื้อราพาราสิต โดยเฉพาะโปรโตซัวและหนอนสมอ

อัตราส่วนการใช้เกลือ 1:33 – 1:50(3-5%) นานประมาณ 1-2 นาที หรืออัตราส่วน 1:200 – 1:100 แช่นานตลอดไป

ควรมีลักษณะเป็นผงหยาบสีขาว ละลายน้ำได้ดี หาง่ายราคาถูก

ใช้ในระหว่างการลำเลียงขนส่ง ชั่งน้ำหนัก เพื่อลดความบอบซ้ำ ป้องกันปลาเป็นโรค

อัตราส่วนการใช้เกลือ 1:1000 – 1:2000 (0.1-0.2%) แช่ตลอดไป

คลอเตตราซัยคลิน (Chortetracycline)

รักษาโรคจากแบคทีเรีย Aeromonas sp. Pseudomonas sp. และ โรคจุดขาว Ichthyophthirius sp.

ผสมในอาหารปริมาณ 55 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักปลา 1 กก/วัน (ประมาณ 10วัน) หรือใช้วิธีละลายในน้ำ 10-20 ppm. แช่นานตลอดไป

ลักษณะเป็นผลึกมีสีเหลืองทำปฏิกริยาเป็นด่างอย่างอ่อนละลายน้ำได้ดี เมื่อละลายน้ำแล้วจะมีสีค่อนข้างเหลือง และมักเกิดเป็นฝ้าบนผิวน้ำ

คลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenical)

รักษาโรคจากเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบทั่วไป Aeromonas sp. โรคจุดขาว

ฉีดเข้าทางช่องเท้า 20 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กก. หรือผสมในอาหารปริมาณ 55 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กก./วัน ใช้เวลาประมาณ 10 วัน หรือแช่ประมาณ 80 ppm. นานประมาณ 24 ชั่วโมง

เป็นยาปฏิชีวนะที่นิยมใช้กันมาก ไม่มีสี ละลายน้ำได้ดี เมื่อละลายน้ำจะมี)ปฏิกริยาความเป็นกลาง ตัวยาจะมีอายุประมาณ 3 ปี ดังนั้นซื้อยาควรดูวันหมดอายุก่อน

โรคเชื้อรา (Cotton Wool Diseases) และใช้ได้ผลดีในการรักษาโรค Dropsy ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียและไวรัส

ออกซี่เตตราซัยคลิน (Oxytetracycline)

รักษาโรคจากเชื้อแบคทีเรีย

แกรมลบทั่วไป

ฉีดเข้าทางช่องท้องประมาณ 30 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม หรือผสมในอาหารปริมาณ 55 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กก./วัน หรือแช่ปริมาณ 10/20 ppm. นานประมาณ 24 ชั่วโมง

 

ฟิวราเนส (Furanace)

รักษาโรคจากเชื้อแบคทีเรีย Aeromonas sp. และ

Vifrio sp.

ผสมในอาหารปริมาณ 0.5-1 กรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กก./วัน

นานประมาณ 10-14 วัน หรือแช่ประมาณ 1:500000

(2 ppm.) ประมาณ 1 ชั่วโมง

 

น้ำหนักและปริมาตร

=> 1 หยด 1/20 cc.  => 1 ช้อนชา 1/8 ออนซ์ หรือ 4 cc. หรือ 0.5 กรัม   => 1 แกลลอน 3.785 ลิตร หรือ 4 Quarts

=> 1 ปอนด์ 16 ออนซ์ หรือ 453.6 กรัม   => 1 ตัน น้ำ 270 แกลลอน  

=> PPM. (Part per million) 1 กรัมต่อน้ำ 1000 ลิตร หรือ 0.0038 กรัม ต่อน้ำ 1 แกลลอน              

เว็บไซต์เกี่ยวกับโรคปลาและการรักษา
http://www.geocities.com/njranchu/tip5.htm 
http://www.ninekaow.com/hospital/index.php 
http://web.ku.ac.th/agri/fishdec/inorgan.html 
http://www.nicaonline.com/articles7/site/view_article.asp?idarticle=100 คุณสมบัติของตัวสารเคมี
http://www.nicaonline.com/goldfish012.html
http://www.fancycarp.com/koidoctor/doctor/ 

แผนผังเวบไซต์

รายละเอียดสินค้า
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีใช้งาน
ความเป็นมา
แผนที่
ติดต่อ
ถาม-ตอบ
การประยุกต์ใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย
บทสนทนากับลูกค้า
ทะเบียนการค้า
ตรวจสอบสถานะ EMS
PetMania June 2007
Thai Cross Breed August 2008
วิธีล้างตู้ปลาแบบง่ายๆ
โรคของปลาและยารักษา
ประเภทของ Air Pump
รู้เรื่องปลาๆกับนายเก๋า
รังปลา บิ๊กซี
Blog ของนาย mio
My dogs
My Radio Base Station
My Radio Club
ขายคอนโดมิเนียม เมืองทองธานี
หน้าหลัก

Copyright 2003 Yutthana Chomnawang All Rights Reserved