ชนิดของเทาเออร์

1. Self Support เป็นเทาเออร์ประเภทฐานสี่เหลี่ยมมักจะมีฐานใหญ่กว่าด้านปลาย สามารถติดตั้งให้ยืนได้ด้วยตัวเอง
ส่วนราชการชอบใช้แต่ต้องใช้พื้นที่มากในการติดตั้ง
2. Guy Wire Tower เป็นเทาเออร์ชนิดสามเหลี่ยมมักทําเป็นท่อนๆ นักวิทยสมัคร เล่นนิยมใช้มีความแข็งแรงสูง
เพราะจะมีสาย Guy ดึงรั้งตามตําแหน่งเพื่อเป็นการดึงให้เสา เทาเออร์ตรงดิ่งได้ค่าที่ถูกต้องตามหลักการ
3. Single-pole เป็นลักษณะของเสาแป๊ปมีขาเหล็กไว้ไต่ขึ้นไปเพื่อทําการติดตั้งสายอากาศ มีสาย Guy
ดึงรั้งตามตําแหน่งเช่นเดียวกันกับ Guy Wire Tower

 

ระเบียบข้องบังคับในการติดตั้งเทาเออร์

ในบรรดากฎระเบียบหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับนักวิทยุสมัครเล่นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเทาเออร์เป็นเรื่องที่รู้ กันน้อยที่สุด อาจเป็นด้วยว่าในระยะแรกนั้นไม่ได้ระบุให้แน่ชัดว่าเป็นสิ่งควรรู้ เพื่อขอรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น (ขณะที่ในบางประเทศ เช่นสหรัฐอเมริกา ถือว่าต้องรับรู้ จึงบรรจุเป็นระเบียบและมีอยู่ในข้อสอบด้วย) ฉะนั้น จึงไม่มีการให้ความรู้เรื่องนี้กันเลยแม้แต่เมื่อเข้ามาเป็นนักวิทยุสมัครเล่นแล้ว โอกาสที่จะรู้เรื่องนี้ก็ยังน้อยอยู่ดีเพราะการติดตั้ง เทาเออร์มักจะเป็นฝีมือของช่างมืออาชีพ ทุกอย่างจึงเป็นไปตามคําแนะนําที่ช่างบอกเล่าเก้าสิบให้ฟัง มีช่างน้อยต่อน้อยรายเหลือเกิดที่รู้จริงเกี่ยวกับกฎระเบียบหรือข้อบังคับ อย่างไรก็ตามนั่นไม่ใช่เรื่องที่จะมาตําหนิหรือมาจี้ข้อบกพร่องกัน เพราะที่เป็นมา อย่างนั้นเพราะทุกอยางทําตามกันเรื่อยมาโดยตลอดเหมือนกับวงการอื่นๆ ขณะที่การให้ความรู้เรื่อง นี้ยังไม่ได้เริ่มกระทํากันอย่างจริงจังเลย ดังนั้นในฐานะที่พวกเรานักวิทยุสมัครเล่น เป็นกลุ่มประชาชน ที่เป็นเจ้าของเทาเออร์มากที่สุดในประเทศ ลองมาเริ่มต้นดูกันสิว่ามีอะไรที่ควรรู้บ้าง


พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ( ส่วนหนึ่ง )

มาตรา 58 ให้รัฐมนตรี(ว่าการกระทรวงคมนาคม)มีอํานาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กําหนดเขตของบริเวณใกล้เคียงสนามบินหรือสถานที่ตั้งเครื่องอํานวยความสะดวกในการเดิน อากาศเป็นเขตปลอดภุยในการเดินอากาศ

มาตรา 59 ภายในเขตปลอดภัยในการเดินอากาศตามมาตรา 58 ห้ามมิให้บุคคลใด ก่อสร้างหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือปลูกต้นไม้ยืนต้นเว้นแต่ได้ รับอนุญาติเป็นหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา 60 ถ้าปรากฎว่ามีการฝ่าฝืนต่อมาตรา 59 วรรค 1 หรือฝ่าฝืนเงื่อนไขตามมาตรา 59 วรรค 2 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ฝ่าฝืนจัดการรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือตัด หรือย้ายต้นไม้นั้นภายในเวลาที่กําหนด

ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคก่อนให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจ จัดการรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือตัด หรือย้ายต้นไม้นั้นเสียเอง ค่าใช้จ่ายในกรณีนี้ให้ผู้ฝ่า ฝืนเป็นผู้ชดใช้

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สิ่งแรกที่ควรรู้ก่อนก็คือ หน่วยงานใดบ้างที่ท่านมีโอกาสจะเกี่ยวข้องด้วยก่อนจะลงมือติดตั้ง เทาเออร์
(ไม่นับบริษัท หรือช่าง หรือใครที่คุณปรึกษาเรื่องแบบและราคาของเทาเออร์) มีดังนี้ครับ

1. กองก่อสร้างและบํารุงรักษากรมการบินพาณิชย์

หน่วยงานนี้มีหน้าที่ควบคุมดูแลสิ่งก่อสร้างทุกอย่างที่อยู่ภายในบริเวณใกล้สนามบิน ให้มีความ สูงไม่เกินที่กําหนดไว้ สําหรับระยะห่างจากทางวิ่งต่างๆ และกําหนดเงื่อนไขว่าจะต้องทาสีอย่างไร ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยแก่เครื่องบินทั้งหลายในเวลากลางคืนหรือในเวลาที่มีหมอกลง ตามกฎองค์การบินพลเรือน ระหว่าประเทศ[Internation Civil Aviation Orgraizationหรือเรียกย่อว่า ICAO ซึ่งอ่านออกเสียงว่า อิเกา] บริเวณใกล้สนามบินที่ถุกควบคุมดูแลนี้มีชื่อเรียกเป็นทางการ ว่า เขตปลอดภัยในการเดินอากาศ ซึ่งกรม การบินพาณิชย์มีอํานาจควบคุมดูแลโดยอาศัยอํานาจตาม พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ.2497 หากพบ การละเมิดก็มีอํานาจสั่งรื้อถอนได้ (เคยปรากฎตัวอย่างมาแล้วที่ถูกสั่งรื้อถอนบริเวณใกล้สนามบินดอนเมือง) พระราชบัญญัตินี้ควบคุมสิ่งก่อสร้างทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นอาคาร หอสูง ปล่องไฟ ถังเก็บนํา และรวมถึงเทาเออร์ สําหรับติดตั้งสายอากาศที่เรากําลังพูดถึงอยู่นี้ด้วยนั่นหมายความว่า เมื่อรู้หรือสงสัยว่าจะอยู่ในเขตปลอดภัย ในการเดินอากาศ (คิดหยาบๆคือสถานที่ตั้งเทาเออร์ของท่านอยุ่ห่างจากปลายทาง วิ่งของเครื่องบินด้านใด ด้านหนึ่งไม่เกิน 15กิโลเมตร หรือห่างจากด้านข้างของทางวิ่งเครื่องบินไม่เกิน 6 กิโลเมตร) ก็ควรโทรศัพท์ ไปปรึกษากองก่อสร้างและบํารุงรักษา กรมการบินพาณิชย์ ก่อนลงมือก่อสร้างเทาเออร์กองนี้จะให้คําแนะนําว่า ควรจะทําอะไรบ้างหากอยู่ในเขตปลอดภัยในการเดินอากาศก็จะตรวจสอบว่าสถานที่ตั้งเทาเออร์อยุ่ห่างจากทาง วิ่งเท่าไหร่จากนั้นจึงชี้แจงว่า อนุญาติให้สูงได้กี่เมตรต้องทาสีและติดตั้งไฟสัญญาณอย่างไร และต้องกรอก เอกสารก่อนขออนุญาติก่อสร้างก่อน การขออนุญาตินี้ไม่ต้องเสียค่า ธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น

2. สํานักโยธา กรุงเทพมหานคร หรือโยธิการจังหวัด( ในกรณีต่างจังหวัด )

หน่วยงานเหล่านี้จะดูแลในเรื่องความปลอดภัยของสิ่งปลูกสร้างโดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เทาเออร์ถูกจัดอยู่ในสิ่งก่อสร้าประเภทที่เรียกว่า อาคารพิเศษ ตามที่ระบุในกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2526) ของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งระบุข้อหนึ่งว่า หมายถึงอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีความสูง เกิน 15.00เมตร หรือมีลักษณะโครงสร้างที่อาจก่อให้เกิดภยันตรายต่อสาธารณะชนได้ดังนั้น ก่อนที่จะลงมือตั้ง เทาเออร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่หากเทาเออร์ล้มลงมาแล้วมีโอกาสเป็นอันตรายต่อผู้ที่ใช้เส้นทางสาธารณะ ควรไปปรึกษาหน่วยงานเหล่านี้ก่อนว่าควรทําอย่างไรบ้าง จะได้ไม่มีปัญหาตามมาภายหลัง

3. บ้านใกล้เรือนเคียงที่อยู่ติดกัน

นี่เป็นหน่วยพิเศษที่สําคัญสําหรับนักวิทยุสมัครเล่นจะละเลยไม่ได้ ลองคิดดูเล่นๆ ซิครับว่าหากวันดี คืนดีเขาก็เห็นนักวิทยุสมัครเล่นที่อยู่ข้างบ้านลงมือตั้งเทาเออร์สูงตั้งสามสี่สิบเมตร แล้วบังเอิญเทาเออร์นั้นอยู่ ใกล้รั้วขนาดที่เรียกว่าถ้าล้มอาจก่อให้เกิดอันตรายข้ามบ้านมาได้ อย่างนี้เพื่อน บ้านท่านอาจไม่สบายใจเป็นแน่ และ บางทีอาจไม่สบายใจถึงขั้นร้องเรียนกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องดังนั้น ในทางปฏิบัติแล้ว หากเทาเออร์ ของท่านสูงจนเพื่อนบ้านไม่สบายใจแล้วก็ควร หาทางชี้แจงให้เขาเข้าใจว่าท่านกําลังทําอะไรอยู่ แล้วได้ดําเนินการ อย่างไรเพื่อให้มีความปลอดภัยสูงสุด

ข้อบังคับในการติดตั้งเทาเออร์

ข้อบังคับสําหรับเทาเออร์ที่อยู่ในเขตการเดินอากาศ

สําหรับเทาเออร์ที่อยู่ภายในเขตปลอดภัยในการเดินอากาศนั้น กรมการบินพาณิชย์ ได้ออกข้อกําหนดไว้ว่าจะต้องทาส ีและติดไฟสัญญาณ [obstacle light] ทาสีเทาเออร์เป็นสีขาวสลับแดง (จริงๆสีแดงออกไปทางส้ม) โดยแต่ละแถบมี ความ กว้างประมาณ 1/7 ของความสูงเทาเออร์โดยให้แถบบนสุดและล่างสุดป็นสีแดง

การติดตั้งไฟสัญญาณให้ปฏิบัติดังนี้

1. เทาเออร์สูงไม่เกิน 45เมตร ให้ติดดวงไฟที่ยอดเทาเออร์ เป็นดวงไฟสีแดง (ไม่กระพริบ) ที่มีความเข้มของแสงเพียง พอที่จะเห็นได้ชัดเจนเด่นจากสภาพแวดล้อม แต่ต้องมีความเข้มไม่น้อยกว่า 10 แคนเดล่าของสีแดง (ในทางปฏิบัติ หมายถึงหลอดไฟ แบบใส้ขนาดไม่น้อยกว่า 40 W โดยทั่วไปนิยมใช้ขนาด 60 หรือ100W)
2. เทาเออร์สูงขนาด 45 ถึง 150 เมตร ให้ติดดวงไฟที่ยอดเทาเออร์และติดดวง ไฟให้เห็นได้รอบทิศทางเพิ่มอีก โดยมี จำนวนเท่ากับทุกช่วงที่เกิน 45 เมตร โดยจัดให้แต่ ละชุดห่างเท่าๆกัน (เช่นสูง 46 เมตร ต้องติดสองชุด คือที่ยอด และตรงกลาง, สูง 90 เมตร ต้องติดสองชุด เช่นเดียวกัน สูง 91 เมตร ต้องติดสามชุดคือยอดตรงที่สูง 1/3 และตรงความสูง 2/3 ของความสูงเทาเออร์) ส่วนที่สูงเกิน 45 เมตรให้ใช้ดวงไฟกระพริบสีแดง ที่มีอัตราการกระพริบ อยู่ระหว่าง 20-60 ครั้งต่อนาที และมีความเข้มของแสงไม่น้อยกว่า 1600 แคนเดล่าของแสงสีแดง (ในทางปฏิบัติ หมายถึงหลอดใส้ขนาดไม่น้อยกว่า 600 W โดยทั่วไปนิยมใช้ขนาด 600-700W )ส่วนดวงไฟที่อยู่ตํากว่า 45 เมตร ให้ใช้ตามข้อ 1
3. เทาเออร์ที่สูงเกิน 150 เมตร นั้น กรมการบินพาณิชย์ได้กําหนดแถมท้ายมา ด้วยว่าบนยอดเสาให้ใช้ดวงไฟกระพริบสี ขาวที่มีความเข้มของแสงมาก (กําหนดตามความ สว่างรอบข้าง โดยจะอยู่ในช่วงไม่น้อยกว่า 4000 ถึง 200,000 แคนเดล่า) และมีอัตราการ กระพริบอยู่ระหว่าง 40-60 ครั้งต่อนาที ส่วนระหว่าช่วงเสาที่เตี้ยกว่า 150 เมตรแต่สูง กว่า 45 เมตร ให้ใช้ดวงไฟกระพริบสีแดงตามข้อ 2 และระหว่าช่วงความสูงที่ตํากว่า 45 เมตร ให้ใช้ดวงไฟตาม ข้อ 1

ข้อบังคับสําหรับเทาเออร์ที่อยู่นอกเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ

กรณีนี้จะอยู่นอกเขตการควบคุมดูแลของกรมการบินพาณิชย์ และในขณะนี้ยังไม่มี ระเบียบหรือพระราชบัญยัติอื่น ใดมาควบคุมความสูง การทาสี การติดไฟสัญญาณ(ยกเว้น เรื่องความปลอดภัยด้านโครงสร้าง) ดังนั้น ก็แล้วแต่วิจารณญานของแต่ละท่านเอาเองว่าจะ ให้สูงเพียงใด จะทาสีเทาเออร์เป็น 7 แถบหรือจะแบ่งเป็นแถบล่ะ 3เมตรอย่างที่ช่างส่วนใหญ่นิยมทํา จะติดไฟสัญาณหรือไม่ ถ้าติดจะติกระพริบหรือไม่ สว่างเพียงไร อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการใช้เฮเลคอปเตอร์กันมาก เทาเออร์อาจเป็นสิ่งกีดขวางที่ เป็นอันตรายได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่หมอกลงจัดเจ้าหน้าที่ของกองก่อสร้างและบํารุง รักษากรมการบินพาณิชย์ จึงฝากขอร้องมาว่าหากเทาเออร์ของ ท่านมีความสูงเกิน 45 เมตร และไม่มีสิ่งก่อสร้างใดๆสูงกว่าและมีสัญญาณไฟอยู่ใกล้ๆแล้ว ขอให้ทาสีและติดสัญญาณไฟ ให้ใกล้เคียงกับข้อกําหนดของกรมการบินพาณิชย์เท่าที่จะทําได้ และถ้าเป็นไปได้กรุณาแจ้ง ตําแหน่งรายละเอียดเทาเออร์ของท่านให้ทราบด้วย เพื่อจะได้บันทึกลงในแผนที่ซึ่งจะเป็น ประโยชน์ในการกําหนดเส้นทางการบินรวมทั้งการให้คําแนะนําต่างๆ แก่เฮเลคอปเตอร์

ไฟสัญญาณ

ปัจจุบันไฟสัญญาณมีให้เลือกใช้กัยหลายแบบ หลายราคา ถ้าเป็นแบบที่ตรงกับ มาตราฐานของ FAA [FederalAviation Administration] ของอเมริกา จะมีราคา ค่อนข้างแพงเอาการคือ อยู่ที่ช่วงราคาตั้งแต่สามพัน(25บาทต่อ1ดอลล่าร์)บาทขึ้นไปต่อ หนึ่งโคมจนถึงประมาณเจ็ดพันกว่าบาท พวกนี้จะถูกออกแบบมาพิเศษ เช่น ครอบแก้วสีแดง จะถูกออกแบบมาเพื่อให้ทนต่อความร้อน ครอบแก้วทําหน้าที่เป็นเลนส์บีบลําแสงให้ออกไป รอบข้างโดยมีลําแสงแคบ (เมื่อมองในระนาบดิ่งคล้ายกับรูปแบบการกระจายคลื่นของสาย อากาศรอบตัวที่มีอัตราการขยายสูง) เพื่อให้เครื่องบินใด้มองเห็นแต่ไกลและใช้ในการกะ ระยะความสูงได้ เช่น ถ้าเห็นแสงสว่างมากแสดงว่าอยู่ในระดับสูงใกล้เคียงกับยอดเทาเออร์ ซึ่งอาจจะชนได้ จะต้องบินสูงขึ้นจะเห็นแสงกระพริบหรี่ลงมาก นอตทุกตัวเป็นแสตนเลส มีลวดหรือสลิงคล้องกระจก ครอบป้องกันการหล่นลงมาขณะใส่หลอดไฟ และทําให้มีมือ ว่างพอจะเปลี่ยนหลอดไฟได้สะดวก มีปะเก็นยางกันนําเข้าไปภายในตัวโคมตัวโคมใช้ อลูมิเนียมหล่อ ที่พื้นตัวโครงเจาะรูระบายน้ำ ที่กลั่นตัวจากภายในตัวโคมและให้อากาศภายในขยาย ตัวออกไปได้สะดวก รวมกระทั่งรวมไปถึงกระทั่งหลอดไฟก็ใช้แบบที่มีอายุยืนนาน(เช่นหลอด แบบ traffic signal light ซึ่งมีอายุการใช้งานนานถึง 800 ชั่วโมง) บางแบบใช้หลอดทน การสั่นสะเทือน [rein-forced construction lamp เป็นหลอดใส้ธรรมดาแต่มีโครงสร้าง การยึดใส้หลายจุดที่หา ซื้อได้ตลอดเวลาก็ยี่ห้อฟิลิปส์ ราคาประมาณหลอดละ 35 ถึง55 บาทสําหรับขนาด 25 ถึง 100 W ที่มีอายุการใช้งานนาน 1000 ชั่วโมง) เพื่อให้ใส้หลอดไม่ขาด ง่ายเนื่องจากแรงลม จากการใช้งานและกระแทกขณะติดตั้ง เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีระบบควบคุมไฟสัญญาณให้เลือกอีกหลายระบบ เช่น ให้ไฟกระพริบ ให้ไฟสัญญาณทํางาน/หยุดทํางานเองอัตโนมัติเมื่อ ระดับความเข้มของแสงของดวงอาทิตย์ลดลง หรือเพิ่มขึ้นถึงระดับที่กําหนด ใช้โคมคู่โดยขณะทํางานสว่างพร้อมกัน เพื่อว่าเผื่อหลอดหนึ่ง ขาดยังเหลืออีกหลอดที่ทํางานอยู่ รวมทั้งมีสัญญาณ บอกเจ้าหน้าที่หรือเพื่อนนักวิทยุทราบว่า หลอดขาดด้วย เป็นต้น ระบบเหล่านี้มักถูกติดตั้งอยู่บริเวณฐานเทาเออร์ หรือในห้องควบคุม อย่างไรก็ตามสําหรับนักวิทยุสมัครเล่นทั่วไปแล้ว คงไม่จําเป็นต้องหาระบบสัญญาณ ไฟแพงๆ อย่างนั้นมาใช้ มีแบบถูกๆให้เลือกอีกมากมายบริเวณร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าแถว สี่แยกวัดตึกถนนจักรวรรดิ์ทั้งโคมไฟสัญญาณรวมหลอดไฟ 60 W หรือจะใช้โคมไฟสัญญาณ แบบกระพริบที่ใช้หลอดซีนอนก็ได้ ถ้าต้องการให้โคมทํางานเองอัตโนมัติอาจซื้อสวิตช์แสงแดด [daylight switch] มาเพิ่มเข้าไปได้อีก


ตู้ควบคุมสัญญาณไฟกระพริบ



แสดงการติดโคมไฟสองดวง


ควรใช้สลิงกี่เส้นในการโยงเสากลางเพื่อความปลอดภัย

 

      เคยมีบ้างไหมครับที่เพื่อน ๆ ขึ้นสายอากาศแล้วมีความรู้สึกว่ากลัวหรือไม่มั่นใจกับการตั้งเทาเออร์ หรือจะเป็น POLE TOWER ซึ่งเป็นอุปกรณที่สร้างขึ้นมาจากแป๊ปหากเป็นอย่างที่ผมกล่าวมาลองมาอ่านดูครับว่าเราควรที่จะใช้ลวดสลิงกี่เส้นในการดึงรั้งเสาเทาเออร์

      
ถ้าเราใช้เสากลางที่เป็นแบบฐานหมุนได้ ( หมายถึงฐานเสาไม่ได้ถูกยึดติดกับพื้น หรือ ฝังลงดิน ) ควรที่จะต้องใช้ลวด สลิง หรือเชือก แล้วแต่เพื่อน ๆ จะใช้ในการ ยึด รั้ง ดึง คราวนี้ก็มาถึงตรงที่ว่าควรที่จะต้องใช้กี่เส้นถึงจะปลอดภัย คําว่าปลอดภัยในที่นี้หมายถึงหากมีเส้นใดเส้นหนึ่งขาดขึ้นมาแล้ว เสากลางก็ยังไม่ล้มไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง คําถามนี้คงไม่ค่อยได้ยินนักในเมืองไทย เพราะเรามักจะเห็นว่า ตัวอย่างที่เห็นการติดตั้งเทาเออร์ในเมืองไทยจะใช้กายสลิง 3 เส้น ในการเหนี่ยว รังเทาเออร์ จนเราไม่คิดที่จะสงสัยอะไรอีก แต่หากเพื่อน ๆ มาลองพิจารณา
กันดี ๆ แล้วในแง่ของความปลอดภัยจริง ๆ แล้วก็น่าจะดูว่าการใช้ลวด สลิง 3 เส้นจะปลอดภัยเพียงพอหรือไม่ นายบ็อบ บูตเชอร์ นักวิทยุสมัครเล่นชาวอังกฤษเจ้าของสัญญาณเรียกขาน G3UDI เคยให้ความเห็นลงในหนังสือวารสาร Radio Communication ของอังกฤษว่า

    1 .   
แบบ 3 เส้น จะไม่ปลอดภัยเพราะหากเส้นใดเส้นหนึ่งเกิดขาดขึ้นมา
    2 .   
แบบ 4 เส้น ก็ยังไม่ถือว่าปลอดภัยเพราะหากเกิดเส้นใดเส้นหนึ่งขาดขึ้นมา
    3 .   
แบบ 5 เส้น จะเป็นแบบที่ให้ความปลอดภัยได้สูงที่สุดเพราะหากเส้นใดเส้นหนึ่งเกิดขาดขึ้นมายังคงเหลืออีก  4 เส้นในการเหนี่ยวรั้งเสากลางอยู่


     จากในรูปจะเห็นตัวอย่างที่ใช้ประกอบคําอธิบายของนายบ็อบว่า การใช้กายสลิงเพื่อยึดเสากลางทั้งสามแบบมีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด เพราะหากเราสังเกตจากรูปตัวอย่างที่ให้มานี้ จะเห็นได้ว่าหากเป็นแบบ 3 เส้น เกิดเส้นหนึ่งเส้นใดขาดก็จะทําให้เสากลางเอียงได้ เพราะขาดแรงในการเหนี่ยวนําให้เสากลางตั้งอยู่ตรงกลาง หากเป็นแบบ 4 เส้น ผลที่ได้ก็เหมือนกับแบบ 3 เส้น เพราะหากเกิดเส้นใดเส้นหนึ่งขาด แรงเหนี่ยวนําก็จะทําให้เสากลางไม่สามารถตั้งตรงได้เช่นกัน แต่ในแบบ 5 เส้น ดูแล้วสามารถให้ความปลอดภัยได้มากที่สุด เพราะหากลองสังเกตดูแล้วว่าหากเรากําหนดให้สลิงแต่ละเส้นเป็น A B C D E หากเกิดปัญหาสมมุตว่าเส้น A ขาดเส้น B และ เส้น C ก็ยังคงรั้งเสาให้ได้อยู่

   
เพื่อน ๆ ลองพิจารณาดูเอานะครับ ว่าเทาเออร์ของเราควรที่จะใช้สลิงสักกี่เส้น รวมไปถึงกี่ชั้นในการดึงและรั้งเทา
เออร์สถานนี้ที่ใช้อยู่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ไม่ควรที่จะมองข้ามความปลอดภัยในการ เพิ่มน้ำหนักให้กับอาคารที่พักอาศัยควรที่จะปรึกษากับเจ้าหน้าที่ ฝ่ายโยธา หรือ ช่างก่อสร้างเสียก่อนที่จะจัดการภาระกิจเทาเออร์นะครับ เพื่อมิให้เป็นการเสียทรัพย์แล้วยังผิดต่อประมวลกฎหมายด้วย